ผลงานวิจัย : คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ : มหาวิทยาลัยพะเยา
การบูรณาการการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา: องค์ความรู้และการพัฒนานวัตกรรม
บทความนี้ต้องการทบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับการบูรณาการกิจกรรมกับการจัดการเรียนการสอนประเภทต่าง ๆ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์และจัดหมวดหมู่เอกสารทางวิชาการและงานวิจัยด้านการใช้กิจกรรมประเภทต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน ผลการศึกษาพบว่าที่ผ่านมาการจัดการเรียนการสอนมีการ 1) บูรณาการกับกิจกรรมต่าง ๆ ในรายวิชาหนึ่งเพื่อเป็นฐานการเรียนรู้ในรายวิชานั้น 2) บูรณาการกับพันธกิจของสถาบันการศึกษากับรายวิชาต่าง ๆ และ 3) บูรณาการกับกิจกรรมที่ข้ามศาสตร์และสาขาวิชา องค์ความรู้ที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นถึงการบูรณาการกิจกรรมในการจัดการเรียนการสอนแต่ละประเภทซึ่งสามารถตอบสนองต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนในรายวิชา พันธกิจหรือศาสตร์เฉพาะบางรายวิชาหรือหลักสูตร บทความนี้ยกตัวอย่างกรณีศึกษาการจัดกิจกรรมของรายวิชาต่าง ๆ ในภาคการศึกษาหนึ่งของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยพะเยาซึ่งมีจำนวนกิจกรรมของรายวิชาที่เป็นเอกเทศและไม่เชื่อมโยงกันจนเป็นภาระด้านการจัดกิจกรรมและใช้เวลาอย่างมากต่อตัวผู้เรียน เงื่อนไขดังกล่าวส่งผลให้ผู้เรียนไม่สามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ผ่านกิจกรรมในการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม บทความนี้ต้องการเสนอว่า การหาแนวทางส่งเสริมการจัดการภาระงาน เวลาและการเชื่อมโยงองค์ความรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ของผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนั้น การวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบและแนวทางบูรณาการกิจกรรมของรายวิชาต่าง ๆ ในภาคการศึกษาหนึ่งจะพัฒนาองค์ความรู้และเป็นนวัตกรรมของการบูรณาการการเรียนการสอนอีกรูปแบบหนึ่ง
- ดาวน์โหลดเอกสาร: ดาวน์โหลด
- ปี: 2562
- Author: มนตรา พงษ์นิล